mercredi 11 septembre 2013


โครงงาน
เรื่อง  กล้วยกับวิถีชีวิตของคนไทย

คณะผู้จัดทำ
1.นาย อภิสิทธิ์  ปัญจมา     เลขที่7
2.นางสาว ลักษิกา  ชิดทอง  เลขที่4
3.นาย ธนเทพ  คำนลจิตร    เลขที่5
     4.นางสาว ชนากานต์  เรือนงาม  เลขที่8
  5.นางสาว ฐิติญา  ใจเชื่อม   เลขที่11
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9

เสนอ
คุณครู ปาริชาติ  สุทธิเวทย์
คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
1.คุณครู ปาริชาติ  สุทธิเวทย์
2.คุณครู วรรณภา  อินตารัตน์

โรงเรียนนวมินทราชูทิศพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษาที่ 1/2556




หลักการและเหตุผล

                ในการทำโครงงานครั้งนี้  กลุ่มพวกเรามีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของกล้วยชนิดต่างๆ ว่าส่วนต่างๆของกล้วยสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สังคมไทยในปัจจุบันกำลังจะเลือนหายไป กลุ่มพวกราจึงได้จัดทำเรื่องของกล้วยขึ้นมา เพื่อนำความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาโครงงานเรื่องกล้วยนำไปเผยแพร่แก่เด็กรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจในการอนุรักษ์และสนใจในประโยชน์ในส่วนต่างๆของกล้วย

But de ce travail
       La Thaïlande est une destination pour de nombreux touristes, parmi lesquels beaucoup sont intéresés par le bananier.
       Pour répondre à cette deusaude,nous avons préparé ce sujet sur le bananier afin de mieux la faire connaître à tous ceux qui s’intérenent à son apprantinage ou aux techniques d’auto- paut de l’héritage de la cultune thaïeafin de la préserver défense.L’important pour nous est de montrer aux étrangers cette part de l’héritage de la culture thaïe afin de la preserver. 


กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง กล้วยกับวิถีชีวิตของคนไทยโครงงานจากกล้วยจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีคณะผู้จัดขอขอบพระคุณ คุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์ คุณครูประจำวิชาภาษาฝรั่งเศส และ คุณครูวรรณภา อินตารัตน์ คุณครูประจำวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่คอยให้คำปรึกษาและให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้เป็นอย่างสูงคณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย                



Remerciements
Les auteurs tiennent à remercies

Mme.le Professeur  Parichart     SUDHIVATAYA  pour son aide la mise en français.
      Mme.le Professeur  Wannap  INTARAT  pour son aide dans la description et l’histoire
du bananier.
M.Dominique  et  Mme.Pongpan LEGRAND  pour leur aide dans la mise en français



จุดมุ่งหมายของการทำโครงงาน
1.    เพื่อศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของกล้วยที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทยในด้าน
·       ประวัติการค้นพบ
·       ชนิด,ประเภท,สายพันธุ์ ของกล้วย
·       อาหารที่ใช้กล้วยเป็นส่วนผสม
·       กล้วยกับศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ การละเล่น ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ
2. ประยุกต์และบูรณาการใช้ให้เกิดประโยชน์
3. กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์

4. เพื่อนำความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาไปเผยแพร่แก่เด็กสมัยใหม่และผู้ที่สนใจ
But de ce travail
       La Thaïlande est une destination pour de nombreux touristes, parmi lesquels beaucoup sont intéresés par le bananier .

       Pour répondre à cette deusaude,nous avons préparé ce sujet sur le bananier afin de mieux la faire connaître à tous ceux qui s’intérenent à son apprantinage ou aux techniques d’auto- paut de l’héritage de la cultune thaïeafin de la préserver défense.L’important pour nous est de montrer aux étrangers cette part de l’héritage de la culture thaïe afin de la preserver.

วิธีการดำเนินงาน
1.    สำรวจและตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
2.    ศึกษาหาข้อมูลเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับกล้วยจากแหล่งข้อมูล
3.    วางแผนและกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน
4.    เขียนเค้าโครงของโครงงาน
5.    ลงมือศึกษารวบรวมข้อมูล
6.    สรุปผล
7.    เขียนรายงานโครงงาน
8.    นำเสนอผลงาน
สถานที่ศึกษาค้นคว้า
·       สวนที่บ้านของสมาชิก(นาย ธนเทพ คำนวลจิตร)
·       เว็บไซด์ต่างๆ
·       ไร่นาสวนผสมที่โรงเรียนนวมินทร์ทราชูทิศพายัพ

ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน
ตั้งแต่ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2556   ถึง  วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556



งบประมาณ
1.ค่าอุปกรณ์การทำโยเกิร์ต
·       นมยูเอชที (UHT) 10 บาท
·       นมผงพร่องมันเนย 20 กรัม
·       น้ำตาลทราย 25 กรัม 15 บาท
·       โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 15 บาท
·       ผลไม้สด / กวน  20 บาท
รวมค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปขณะดำเนินโครงงาน 80 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.      ได้ความรู้จากการศึกษาเรื่องของ กล้วย ในด้านต่างๆ
2.      ได้ศึกษาเรื่องอาหารจากกล้วย
3.      ได้ผลิตภัณฑ์อาหารจากสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งสามารถรับประทานแทนข้าวได้
4.      ได้นำความรู้จากการศึกษาไปพัฒนาเพื่อเป็นอาชีพในอนาคตได้
5.      ได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น